เมนู

พรรณนาวงศ์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าที่ 2



ดังได้สดับมา เมื่อพระผู้มีพระเจ้าทีปังกรเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว
ศาสนาของพระองค์ดำรงอยู่แสนปี. เพราะอันตรธานแห่งพระสาวกทั้งหลาย
ของพระพุทธะและอนุพุทธะแม้ศาสนาของพระองค์ก็อันตรธาน. ต่อมาภายหลัง
ศาสนาของพระองค์ ล่วงไปอสงไขยหนึ่ง พระศาสดาพระนามว่าโกณฑัญญะ
ก็อุบัติในกัปหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบำเพ็ญบารมีมาสิบหก
อสงไขยแสนกัป อบรมบ่มพระญาณแก่กล้าแล้ว ทรงดำรงอยู่ในอัตภาพเช่น
เดียวกับอัตภาพเป็นพระเวสสันดร จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในสวรรค์ชั้น
ดุสิต ดำรงอยู่ในดุสิตนั้น จนตลอดพระชนมายุ ประทานปฏิญาณแก่เทวดาทั้งหลาย
จุติจากดุสิต ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสุชาดาเทวี ในราชสกุลของ
พระเจ้าสุนันทะ กรุงรัมมวดี. ในขณะที่พระองค์ทรงถือปฏิสนธิ ก็บังเกิด
พระปาฏิหาริย์ 32 ประการดังกล่าวไว้ในวงศ์ของพระทีปังกรพุทธเจ้า. พระองค์
มีเหล่าเทวดาถวายอารักขา ถ้วนทศมาสก็ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ทรง
เป็นยอดของสรรพสัตว์ บ่ายพระพักตร์ทางทิศอุดร เสด็จย่างพระบาทได้ 7
ก้าว ทรงแลดูทุกทิศ ทรงเปล่งอาสภิวาจาว่า เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เรา
เป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก ชาตินี้
เป็นชาติสุดท้าย ตั้งแต่บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก.

ต่อนั้น ในวันขนานพระนามของพระโพธิสัตว์นั้น พระประยูรญาติ
ทั้งหลาย ก็ขนานพระนามว่า โกณฑัญญะ ความจริงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-
องค์นั้นทรงมีพระโคตร เป็นโกณฑัญญโคตร. เขาว่า พระองค์มีปราสาท 3
หลังน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ชื่อว่า รามะปราสาท สุรามะปราสาท1 สุภะปราสาท. ทั้ง

1. บาลีเป็น รุจิ สุรุจิ และสุภะปราสาท.

3 หลังนั้นมีสตรีฝ่ายนาฏกะ ผู้ชำนาญการฟ้อนรำ การขับร้องและการบรรเลง
ประจำอยู่ถึงสามแสนนาง. พระองค์มีพระมเหสีพระนามว่า รุจิเทวี มีพระโอรส
พระนามว่า วิชิตเสนะ ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี.
พระโพธิสัตว์นั้น ทรงเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตายและนักบวช เสด็จ
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยรถทรงเทียมม้า ทรงผนวชแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 10
เดือน โกณฑัญญกุมารกำลังผนวชอยู่ คนสิบโกฏิก็บวชตามเสด็จโกณฑัญญ-
กุมารนั้น อันคนเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ก็ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 10 เดือน ณ
ดิถีเพ็ญเดือนวิสาขะเสวยข้าวมธุปายาสรสอร่อยอย่างยิ่ง ซึ่งธิดาเศรษฐีชื่อว่า
ยโสธรา ผู้มีเต้าถันอวบอิ่มเท่ากัน ณ บ้าน สุนันทคาม ถวายแล้ว ทรงยับยั้ง
พักกลางวัน ณ ป่าต้นสาละ ที่ประดับด้วยผลใบอ่อนและหน่อ เวลาเย็น
ทรงละหมู่แล้วทรงรับหญ้า 8 กำ ที่ สุนันทะอาชีวก ถวาย มาแล้ว ทรงทำ
ประทักษิณต้นสาลกัลยาณี [ต้นขานาง] 3 ครั้ง ทรงสำรวจดูทิศบูรพา ทรงทำ
ต้นไม้ที่ตรัสรู้ไว้เบื้องพระปฤษฎางค์ ทรงปูลาดหญ้ากว้าง 58 ศอก ทรงนั่ง
ขัดสมาธิ อธิษฐานความเพียรมีองค์ 4 ทรงกำจัดกองกำลังของมาร ในราตรี
ปฐมยาม ทรงชำระปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในมัชฌิมยาม ทรงชำระทิพยจักษุ
ในปัจฉิมยาม ทรงพิจารณาปัจจยาการ ทรงออกจากจตุตถฌานที่มีอานาปานสติ
เป็นอารมณ์ ทรงหยั่งสำรวจในปัญจขันธ์ ก็ทรงเห็นลักษณะทั้งหลายด้วยปัญญา
อันสม่ำเสมอ โดยอุทยัพพยญาณ ทรงเจริญวิปัสสนาจนถึงโคตรภูญาณ ทรงแทง
ตลอดมรรคญาณ 4 ผลญาณ 4 ปฏิสัมภิทา 4 ญาณกำหนดกำเนิด 4 ญาณ
กำหนดคติ 5 อสาธารณญาณ 6 และพระพุทธคุณทั้งสิ้น ทรงมีความดำริบริบูรณ์
แล้ว ประทับนั่ง ณ โคนไม้ที่ตรัสรู้ ทรงเปล่งอุทานอย่างนี้ว่า

เราแสวงหาตัณหานายช่างผู้สร้างเรือน เมื่อไม่
พบ จึงต้องท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก
ชาติความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนตัณหานายช่าง
ผู้สร้างเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือน
อีกไม่ได้ โครงสร้างเรือนของท่านเราหักหมดแล้ว
ยอดเรือนเราก็รื้อออกแล้ว จิตของเราถึงธรรมเป็นที่
สิ้นตัณหาแล้ว.
คติแห่งไฟที่ลุกโพลง ที่ภาชนะสัมฤทธิ์ที่นาย
ช่างตีด้วยพะเนินเหล็กกำจัดแล้วก็สงบเย็นลงโดยลำดับ
ไม่มีใครรู้คติความไปของมันได้ ฉันใด. คติของพระ-
ขีณาสพผู้หลุดพ้นโดยชอบ ข้ามเครื่องผูกคือกามโอฆะ
บรรลุสุขอันไม่หวั่นไหว ก็ไม่มีใครจะรู้คติของท่าน
ได้ ฉันนั้น.
1
ทรงยับยั้งอยู่ด้วยสุขในผลสมาบัติ ณ โคนโพธิพฤกษ์ 7 สัปดาห์ใน
สัปดาห์ที่ 8 ทรงอาศัยการอาราธนาของพรหม ทรงใคร่ครวญว่า เราจะแสดง
ธรรมครั้งแรกแก่ใครเล่าหนอ ก็ได้ทรงเห็นภิกษุ 10 โกฏิ ซึ่งบวชกับพระองค์
ว่า กุลบุตรพวกนี้สะสมกุศลมูลไว้ จึงบวชตามเรา ซึ่งกำลังบวช บำเพ็ญเพียร
กับเรา บำรุงเรา เอาเถิด เราจะพึงแสดงธรรมแก่กุลบุตรพวกนี้ก่อนใครหมด
ครั้นทรงใคร่ครวญอย่างนี้แล้ว ก็ทรงตรวจดูว่า ภิกษุเหล่านั้น บัดนี้อยู่ที่ไหน
ก็ทรงเห็นว่าอยู่กันที่เทวะวัน กรุงอรุนธวดีระยะทาง 18 โยชน์แต่ที่นี้ จึงทรง
อันตรธานจากโคนโพธิพฤกษ์ไปปรากฏที่เทวะวันเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขน
ที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น.

1. ขุ. อุ 25/ข้อ 178.

สมัยนั้น ภิกษุสิบโกฏิเหล่านั้นอาศัยกรุงอรุนธวดีอยู่ที่เทวะวัน. ก็แล
เห็นพระทศพลทรงพุทธดำเนินมาแต่ไกล พากันมีใจผ่องใสรับเสด็จ รับบาตร
จีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปูลาดพุทธอาสน์ ทำความเคารพ ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้า นั่งแวดล้อม ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. ณ ที่นั้นพระโกณฑัญญทศพล
อันหมู่มุนีแวดล้อมแล้ว ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันรุ่งโรจน์ ประดุจท้าว
สหัสนัยน์อันหมู่เทพชั้นไตรทศแวดล้อม ประดุจดวงรัชนีกรในฤดูสารทที่โคจร
ณ พื้นนภากาศอันไร้มลทิน ประดุจดวงจันทร์เพ็ญ อันหมู่ดาวแวดล้อม. ครั้ง
นั้น พระศาสดาตรัสพระธัมมจักกัปวัตตนสูตร มีปริวัฏ 3 อาการ 12 อัน
ยอดเยี่ยม ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงซ่องเสพแล้ว แก่ภิกษุเหล่านั้น ทรง
ยังเทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ มีภิกษุสิบโกฏิเป็นประธานให้ดื่มอมฤตธรรม.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ภายหลังสมัยพระทีปังกรพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า
พระนามว่าโกณฑัญญะผู้นำโลก ผู้มีพระเดชไม่มีที่สุด
ผู้มีบริวารยศกำหนดไม่ได้ มีพระคุณประมาณมิได้
ยากที่ผู้ใดจะเข้าเฝ้า มีพระขันติอุปมาดังแผ่นธรณี มี
พระศีลคุณอุปมาดังสาคร มีพระสมาธิอุปมาดังเขาเมรุ
มีพระญาณอุปมาดังท้องนภากาศ.
พระพุทธเจ้า ทรงประกาศอินทรีย์ พละ โพช-
ฌงค์และมรรคสัจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
ทุกเมื่อ.
เมื่อพระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้นำโลกทรงประกาศ
พระธรรมจักร อภิสมัยการตรัสรู้ธรรมครั้งแรกก็ได้มี
แก่เทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทีปงฺกรสฺส อปเรน ความว่า ในสมัย
ต่อจากสมัยของพระทีปังกรศาสดา. บทว่า โลณฺฑญฺโญ นาม ได้แก่ เป็น
พระนามาภิไธยที่ทรงได้รับโดยพระโคตรของพระองค์. บทว่า นายโก ได้แก่
เป็นผู้นำวิเศษ. บทว่า อนนฺตเตโช ได้แก่ มีพระเดชไม่มีที่สุด ด้วยเดช
แห่งพระศีลคุณพระญาณและบุญ. เบื้องต่ำแต่อเวจี เบื้องบนถึงภวัคคพรหม
เบื้องขวาง โลกธาตุอันไม่มีที่สุด ในระหว่างนี้ แม้บุคคลผู้หนึ่ง ชื่อว่าเป็นผู้
สามารถที่จะยืนมองพระพักตร์ของพระองค์ไม่มีเลย ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
อนนฺตเตโช. บทว่า อมิตยโส ได้แก่ มีบริวารยศไม่มีที่สุด. จริงอยู่ แสน
ปีของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตลอดจนถึงสมัยเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ในระหว่างนี้ จำนวนภิกษุบริษัทกำหนดไม่ได้เลย. เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า
อมิตยโส แม้ผู้มีเกียรติคุณที่กำหนดมิได้ ก็ตรัสว่า อมิตยโส. บทว่า
อปฺปเมยฺโย ได้แก่ ผู้ประมาณมิได้ โดยปริมาณหมู่แห่งคุณ เหตุนั้นจึงชื่อว่า
อปฺปเมยฺโย มีพระคุณหาประมาณมิได้ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
พุทฺโธปิ พุทฺธสฺส ภเณยฺย วณฺณํ
กปฺปมฺปิ เจ อญฺญมภาสมาโน
ขีเยถ กปฺโป จิรทีฆมนฺตเร
วณฺโณ น ขีเยถ ตถาคตสฺส.

ถ้าแม้ว่าพระพุทธเจ้า พึงตรัสสรรเสริญพระคุณ
ของพระพุทธเจ้า โดยไม่ตรัสเรื่องอื่นเลย แม้ตลอด
ทั้งกัป. กัปที่มีในระหว่างกาลอันยาวนาน ก็จะพึงสิ้นไป
แต่การสรรเสริญพระคุณของพระตถาคต ยังหาสิ้นไป
ไม่.